4 เรื่องคนเลี้ยงปลาตู้ควรรู้
อย่าพลาดเด็ดขาด ถ้าพลาดขึ้นมาหงายท้องยกทีมแน่ ❗❗
แอดอยากชวนให้เพื่อนๆ หยุดอ่านกันสักนิด เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดแบบดังรูปนี้เกิดขึ้นกับน้องปลาของคุณ แล้วจะมีเรื่องอะไรกันบ้างมาอ่านไปพร้อมกันเลย
- ไฟรั่ว⚡
ที่แอดยกอุบัติเหตุไฟรั่วมาก่อนข้ออื่นๆ เลยก็เพราะว่าเป็นเหตุการณ์ที่ค่อนข้างอันตรายต่อชีวิตปลารวมถึงอันตรายต่อผู้เลี้ยงด้วย ซึ่งวิธีสังเกตว่าอุปกรณ์ในตู้ปลาเรานั้นมีไฟรั่วหรือไม่ ให้ลองสังเกตว่าปลาที่เราเลี้ยงอยู่มีอาการซึมๆ ว่ายเอื่อยๆ ไม่กินอาหารบ้างไหม ถ้าเป็นให้ลองเอาไขควงเช็คไฟมาจุ่มลงในน้ำเพื่อเช็คว่ามีไฟรั่วไหม กรณีที่พบว่ามีกระแสไฟรั่ว ให้ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าในตู้และถอดปลั๊กไล่ไปทีตัวจนพบว่ามาจากอุปกรณ์ตัวไหน
💡(ปล. ส่วนใหญ่ที่พบบ่อยๆจะมาจากฮีทเตอร์และปั๊มน้ำ)
🛡 วิธีป้องกันก็คือ- ติดตั้งสายดิน
- ติดตั้งเครื่องตัดไฟ
- เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานมีตรารับประกันความปลอดภัย เช่น มอก., CE, GS หรือ TÜV SÜD
- ฮีตเตอร์ทำงานไม่ตัด🔥
เหตุการณ์นี้ก็พบเจอบ่อยไม่แพ้กันกับการที่ฮีทเตอร์ทำงานอยู่ตลอดเวลาไม่ตัดการทำงาน แล้วมันจะส่งผลยังไงน่ะเหรอครับ ก็เหมือนต้มปลาไงล่ะครับเพื่อนๆ 😅 ทีนี้แอดอยากแนะนำวิธีการใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุดและไม่เป็นอันตรายกันก่อนครับ
🛡 วิธีใช้งานที่ปลอดภัยก็คือ- ติดตั้งเทอร์โมมิเตอร์ควบคู่ไปกับฮีทเตอร์เพื่อที่จะเช็คความเสถียรของฮีทเตอร์ว่าทำงานตรงกับอุณหภูมิจริงไหม ตัวอย่างเช่น ในฮีทเตอร์บางตัวเราตั้งการทำงานไว้ที่ 28°C และตัดการทำงานที่ 30°C แต่บางทีมันอาจจะทำงานเกินไม่ตัดไฟทำให้อุณหภูมิในน้ำสูงขึ้นเป็น 34 35 36 ซึ่งก็จะส่งผลเสียกับปลาทำให้ปลาตายได้ แอดจึงอยากแนะนำให้ติดเทอร์โมมิเตอร์ไปด้วยเพื่อเช็คอุณหภูมิที่ถูกต้อง
- ควรจะเลือกฮีทเตอร์แบบที่ปลั๊กมีสายดินมาด้วยเพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ารั่วซึ่งเกิดขึ้นได้บ่อยในฮีตเตอร์ประเภทที่ปลั๊กไม่มีสายดิน
💡(อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงฉับพลัน ก็เป็นอีก 1 สาเหตุที่ทำให้ปลาตายยกบ่อได้เช่นกัน ดังนั้นฮีตเตอร์ก็ช่วยแก้ปัญหาได้ดีเลยทีเดียว ^^)
- ขาดออกซิเจน แอมโมเนียพุ่ง ดับยกทีม🌬🍃
แบ่งออกเป็น 2 กรณีคือ- ไฟฟ้าดับปั๊มลมขาดการทำงาน ส่งผลให้ออกซิเจนในตู้ตกลงฉับพลัน ปลาจะเริ่มมีอาการลอยหัว ฮุบอากาศเหนือผิวน้ำ หรือว่ายแบบตื้นๆ
🛡 วิธีป้องกันก็คือ- ติดตั้งปั๊มลมแบบแบตเตอรี่จะทำงานต่อทันทีเมื่อมีไฟดับ
- ติดตั้งระบบไฟสำรองกันไฟฟ้าดับ
- เลี้ยงปลาจำนวนมากในพื้นที่แออัด กรณีนี้จะส่งผลให้ปลาใช้ออกซิเจนค่อนข้างเยอะและยิ่งมีของเสียอยู่ในตู้เยอะแม้จะขาดออกซิเจนในช่วงเวลาสั้นๆก็จะทำให้ แอมโมเนีย และ ไนไตร์ท ซึ่งเป็นพิษส่งผลต่อปลาโดยตรงทำให้ปลาตายพร้อมกันทีเดียวได้
🛡 วิธีป้องกันก็คือ- หมั่นเช็คคุณภาพน้ำให้ดีอยู่เสมอ
- ให้อาหารให้เหมาะสมไม่ให้เหลือ
- หลีกเลี่ยงการเลี้ยงปลาหนาเเน่น
- ไฟฟ้าดับปั๊มลมขาดการทำงาน ส่งผลให้ออกซิเจนในตู้ตกลงฉับพลัน ปลาจะเริ่มมีอาการลอยหัว ฮุบอากาศเหนือผิวน้ำ หรือว่ายแบบตื้นๆ
- สารเคมี🧪💊
อันนี้ก็เป็นอีกสาเหตุที่คนเลี้ยงละเลยกันบ่อยมากๆ หรือบางทีอาจจะไม่คิดด้วยซ้ำว่าที่ทำอยู่นั้นส่งผลกับปลาด้วย เช่น ฉีดยากันยุง ทาสี น้ำฝนที่ชะล้างสารเคมีต่างๆ ในดินไหลลงมาในบ่อ หรือแม้กระทั่งใช้ยาที่ไม่ถูกกฎหมายไม่ได้ขึ้นทะเบียน!! เพื่อนๆ อาจจะคิดว่าเห้ย..ตู้ปลาก็มีฝา ยากันยุงก็ฉีดนิดเดียวปริมาตรน้ำตั้งเยอะคงไม่เป็นไรหรอก แต่ตรงกันข้ามเลยครับในยากันยุงจะมีสารที่ชื่อว่า “สารไพรีทรอยด์ (Pyrethroids)” ซึ่งเป็นสารฆ่าแมลงและมีผลกับปลาในกรณีที่ละลายลงในน้ำ ทำให้ปลาช็อค หายใจขัดข้องและตายในที่สุด
🛡 วิธีป้องกันก็คือ งดใช้ยากันยุงหรือสเปรย์ฆ่าแมลง หรือควรหลีกเลี่ยงให้ได้มากที่สุด ปิดฝาตู้ให้มิดชิดหรือซีลพลาสติกปิดไว้ป้องกัน
💡(ไข่คางคก ก็เป็นอีก 1 สิ่งที่มีพิษต่อปลาโดยตรงเมื่อปลากลืนกินเข้าไปทำให้พิษไหลเข้าสู่ร่างกายและทำให้เกิดข่าวร้ายยกทีมได้เช่นกัน)
ปล. แอดหวังว่าเมื่อเพื่อนๆ รู้สาเหตุก่อนแล้ว ก็จะพร้อมรับมือและไม่ปล่อยให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นกับเพื่อนๆ นะครับ