มาทำความรู้จักกับปรสิตที่ทำลายปลาของเรากัน
เห็บปลา
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Argulus sp. จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับแมลง กุ้ง ปูต่างๆ มีขนาดความยาว 6 – 22 มิลลิเมตร
เห็บปลาเป็นปรสิตภายนอก พบในปลาน้ำจืดและน้ำเค็ม เช่น ปลาคาร์ฟ ปลาทอง ปลาแรด ซึ่งจะเกาะบริเวณต่างๆภายนอกตัวปลา เช่นตามครีบ ลำตัว หัว และส่วนที่เกาะได้ โดยจะเกาะและดูดเลือด และย่อยสลายผิวหนังปลาบริเวณนั้นกินเป็นอาหาร นอกจากนั้น เห็บปลายังสามารถเป็นพาหะของเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้หลายชนิด
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Argulus sp. จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับแมลง กุ้ง ปูต่างๆ มีขนาดความยาว 6 – 22 มิลลิเมตร
เห็บปลาเป็นปรสิตภายนอก พบในปลาน้ำจืดและน้ำเค็ม เช่น ปลาคาร์ฟ ปลาทอง ปลาแรด ซึ่งจะเกาะบริเวณต่างๆภายนอกตัวปลา เช่นตามครีบ ลำตัว หัว และส่วนที่เกาะได้ โดยจะเกาะและดูดเลือด และย่อยสลายผิวหนังปลาบริเวณนั้นกินเป็นอาหาร นอกจากนั้น เห็บปลายังสามารถเป็นพาหะของเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้หลายชนิด
เห็บระฆัง
เกิดจากพยาธิที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichodina sp. ซึ่งเป็นปรสิตเซลล์เดียวที่มีรูปร่างกลม มีแผ่นขอหนามอยู่กลางเซลล์เข้าไปเกาะอยู่ตามลำตัวและเหงือกปลา มีการเคลื่อนที่ไปมาจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดบาดแผลขนาดเล็กบริเวณเหงือกและลำตัว และปลาจะเกิดอาการระคายเคือง มักพบในลูกปลาขนาดเล็ก ถ้าพบจำนวนมากอาจทำให้ปลาตายยกบ่อ
เกิดจากพยาธิที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichodina sp. ซึ่งเป็นปรสิตเซลล์เดียวที่มีรูปร่างกลม มีแผ่นขอหนามอยู่กลางเซลล์เข้าไปเกาะอยู่ตามลำตัวและเหงือกปลา มีการเคลื่อนที่ไปมาจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดบาดแผลขนาดเล็กบริเวณเหงือกและลำตัว และปลาจะเกิดอาการระคายเคือง มักพบในลูกปลาขนาดเล็ก ถ้าพบจำนวนมากอาจทำให้ปลาตายยกบ่อ
ปลิงใส
มีชื่อทางวิทยาศาตร์ว่า Monogenea ชนิดของพยาธิปลิงใสชนิดที่พบได้บ่อยมีสองชนิดคือ Gyrodactylus และ Dactylogyrus ซึ่งมีทั้งที่เป็นพยาธิภายนอกและพยาธิภายใน โดยปลิงใสจะเกาะติดกับตัวปลา โดยลักษณะอาการของปลาที่ถูกเกาะ จะมีสีลำตัวที่เข้มกว่าปกติจากเดิม กินอาหารน้อยลงจนร่างกายผอมโซ ว่ายน้ำทุรนทุราย ลอยตัวบริเวณผิวน้ำ กระพุ้งแก้มขยับเปิดปิดเร็วกว่าปกติ แต่หากเกิดการติดโรคขั้นรุนแรงอาจมองเห็นเหมือนกับว่าปลามีขนสีขาวติดบริเวณลำตัว ซึ่งอาจทำให้ปลาตายได้
มีชื่อทางวิทยาศาตร์ว่า Monogenea ชนิดของพยาธิปลิงใสชนิดที่พบได้บ่อยมีสองชนิดคือ Gyrodactylus และ Dactylogyrus ซึ่งมีทั้งที่เป็นพยาธิภายนอกและพยาธิภายใน โดยปลิงใสจะเกาะติดกับตัวปลา โดยลักษณะอาการของปลาที่ถูกเกาะ จะมีสีลำตัวที่เข้มกว่าปกติจากเดิม กินอาหารน้อยลงจนร่างกายผอมโซ ว่ายน้ำทุรนทุราย ลอยตัวบริเวณผิวน้ำ กระพุ้งแก้มขยับเปิดปิดเร็วกว่าปกติ แต่หากเกิดการติดโรคขั้นรุนแรงอาจมองเห็นเหมือนกับว่าปลามีขนสีขาวติดบริเวณลำตัว ซึ่งอาจทำให้ปลาตายได้
หนอนสมอ
มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Lernaea sp. จัดอยุ่ในไฟลัม Arthropod จำพวกแมลง กุ้ง ปู หนอนสมอโดยทั่วไปจะมีขนาด 10-22มิลลิเมตร เป็นปรสิตที่พบในปลาน้ำจืดได้หลากหลายชนิด หนอนสมอจะหาปลาเพื่อมาเกาะ และเคลื่อนที่ไปตามส่วนต่างๆของร่างกายและหนอนสมอเพศเมียทำการเจาะและฝังไข่ของตัวอ่อนลงในตัวของปลาที่ถูกเกาะ หลังจากไข่จะแตกตัวเป็นตัวอ่อน ปลาที่โชคร้ายจะมีอาการซึมลง ไม่ค่อยกินอาหาร ผอมแห้ง กระพุ้งแก้มเปิดอ้า มีรอยสีแดงเป็นจ้ำทั่วตัว อาจทำให้ปลาตายได้หากไม่รีบรักษา
มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Lernaea sp. จัดอยุ่ในไฟลัม Arthropod จำพวกแมลง กุ้ง ปู หนอนสมอโดยทั่วไปจะมีขนาด 10-22มิลลิเมตร เป็นปรสิตที่พบในปลาน้ำจืดได้หลากหลายชนิด หนอนสมอจะหาปลาเพื่อมาเกาะ และเคลื่อนที่ไปตามส่วนต่างๆของร่างกายและหนอนสมอเพศเมียทำการเจาะและฝังไข่ของตัวอ่อนลงในตัวของปลาที่ถูกเกาะ หลังจากไข่จะแตกตัวเป็นตัวอ่อน ปลาที่โชคร้ายจะมีอาการซึมลง ไม่ค่อยกินอาหาร ผอมแห้ง กระพุ้งแก้มเปิดอ้า มีรอยสีแดงเป็นจ้ำทั่วตัว อาจทำให้ปลาตายได้หากไม่รีบรักษา
อิ๊ค
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ichthyophthirius multifiliis ซึ่งเป็นเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคจุดขาว โดยอาการคือมีจุดขาวบริเวณผิวหนัง ครีบ เหงือก เนื่องจากการเข้าไปฝังตัวของอิ๊ค ทำให้เกิดอาการระคายเคือง ปลาจะทำการเอาลำตัวถูกับผนังตู้ ทำให้ชั้นผิวหนังด้านนอกถูกทำลาย หากไม่รักษาจะนำไปสู่การติดเชื้อแบคทีเรีย และง่ายต่อการติดเชื้อโรคแทรกซ้อนขึ้น
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ichthyophthirius multifiliis ซึ่งเป็นเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคจุดขาว โดยอาการคือมีจุดขาวบริเวณผิวหนัง ครีบ เหงือก เนื่องจากการเข้าไปฝังตัวของอิ๊ค ทำให้เกิดอาการระคายเคือง ปลาจะทำการเอาลำตัวถูกับผนังตู้ ทำให้ชั้นผิวหนังด้านนอกถูกทำลาย หากไม่รักษาจะนำไปสู่การติดเชื้อแบคทีเรีย และง่ายต่อการติดเชื้อโรคแทรกซ้อนขึ้น