วัณโรคปลา Mycobacteriosis

👉สาเหตุ :
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสกุล Mycobacterium เชื้อ M. marinum จะเจริญที่อุณหภูมิ 25-35 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ ถ้าเลี้ยงเชื้อในที่มืดเชื้อจะมีแสงสว่างโคโลนีสีเหลือง

โรคนี้พบได้ในปลาเกือบทุกชนิดในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ซึ่งในไทยพบบ่อยที่สุด ซึ่งสามารถเกิดได้กับปลาหลายชนิดเช่น ปลากัด ปลาช่อน ปลาเทวดา ปลาออสก้า ปลากระดี่ไฟ ปลาปอมปาดัว ปลาคาร์ป

ลักษณะอาการ

  1. ปลาว่ายน้ำเชื่องช้า ผอมแห้ง ไม่กินอาหาร
  2. ท้องบวมน้ำ มีแผลตื้นๆตามลำตัว
  3. เกล็ดหลุด ครีบกร่อน ตาโปน ตาบอดข้างหนึ่งหรือสองข้าง
  4. สีของปลาเข้มหรือจางผิดปกติ
  5. รูปร่างผิดปกติหรือคดงอ
  6. อวัยวะภายใน เช่น ตับ ไต ม้าม เกิดตุ่มเล็กๆ

วิธีป้องกันและรักษา

  1. ขณะเปลี่ยนถ่ายน้ำในบ่อหรือตู้ ควรตากบ่อให้แห้ง
  2. รักษาคุณภาพน้ำเปลี่ยนถ่ายน้ำเป็นประจำสม่ำเสมอ
  3. ไม่เลี้ยงปลาอัตราหนาแน่นจนเกินไป ควรเลี้ยงให้มีความเหมาะสมกับภาชนะที่เลี้ยง
  4. ให้อาหารในปรมาณที่เหมาะสมและตักเศษอาหารเหลือก้นบ่อออก
  5. เมื่อปลาป่วยควรแยกเลี้ยง ไม่ควรเลี้ยงปลาป่วยรวมกับปลาในบ่อ และไม่ควรสัมผัสปลาที่ป่วยหรือตายโดยตรง และร่างกายอ่อนแอจะทำให้ติดเชื้อโรคได้ง่ายยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อวัณโรคปลาสามารถติดเชื้อในสัตว์เลือดอุ่นหลายชนิดได้ รวมถึงใน “คน” ด้วย การถ่ายทอดเชื้อจะผ่านทางบาดแผล และระบบทางเดินอาหารอีกด้วยครับ