ภัยเงียบที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า #เห็บระฆัง

เห็บระฆัง (Trichodina spp.) มีลักษณะรูปร่างคล้ายระฆัง โดยมีการเคลื่อนไหวจะเป็นไปในลักษณะแฉลบๆ พร้อมทั้งกลับตัวไปพร้อมกันด้วย ขอบด้านล่างมีวงแหวน เรียกว่า Denticulate Ring ประกอบด้วยฟันเล็กๆและหนาม (Hook) การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ

ลักษณะอาการ

Trichodina จัดเป็นปรสิตภายนอก เกาะอยู่บริเวณเหงือก ผิวหนัง ครีบของปลา ปลาที่มีเห็บระฆังเกาะจะเห็นเป็นลักษณะแผ่นสีขาวขึ้นตามตัว ปลาเกิดการระคายเคือง และยังสามารถทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อบริเวณที่เกาะ เนื่องจากตะขอที่ใช้ในการฝังเกาะกับตัวปลาจะทำให้เกิดบาดแผล ผิวหนังเป็นปมมีเมือก เกล็ดหลุด ครีบเปื่อยและตายในที่สุด ถ้าเกาะที่เหงือกจะทำให้เกิดการบวม เห็บระฆังจะกินเมือก และเซลล์ผิวหนังเป็นอาหารต่อไป

สังเกตอาการ

  1. ปลาจะว่ายน้ำโดยเอาลำตัวถูหรือสีกับตู้
  2. ไม่ค่อยกินอาหาร
  3. ว่ายน้ำกระวนกระวาย
  4. พลิกตัวไปมา

แสดงว่าปรสิตภายนอกเริ่มคุกคามอย่างเงียบๆ โดยที่เราไม่ทันสังเกต