โรคตกเลือด พิษร้ายทำลายปลา ปลาช้ำเลือดหรือตกเลือดเป็นของคู่กันกับคนที่เลี้ยงปลา ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับปลาทุกสายพันธุ์

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการตกเลือดหรือช้ำเลือดคือ

  1. เกิดจากปรสิตคือ Epitylis sp.
  2. อุณหภูมิเปลี่ยนแปลง
  3. ในน้ำมีสารเคมีมากเกินไปจะส่งผลให้เชื้อโรคเริ่มทำลายกำแพงชั้นนอกสุดคือ “เมือกปลา” (เวลาเกิดความผิดปกติในร่างกายของปลา ปลาจะขับเมือกออกมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความผิดปกติเพื่อป้องกันตัวเองพร้อมขับสารพิษที่อยู่ในร่างกายออกมา)

การตกเลือดแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
1.การตกเลือดแบบทั่วไป
ปลาตอบสนองต่อการผิดปกติของอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง สารเคมี เชื้อโรคในน้ำ หรือคุณภาพน้ำที่เริ่มเสีย(สาเหตุจากแอมโมเนีย หรือเชื้อโรคเพิ่มมากขึ้น)

วิธีการแก้ปัญหา
ช่วยปลาโดยการแยกแช่เกลือ เพราะเกลือมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค และจะทำให้อาการอักเสบทุเลาบรรเทาลงได้ ปลาส่วนใหญ่ที่ตกเลือด แช่เกลือ 1-2 วัน ก็หายเป็นปกติ
ไม่จำเป็นต้องงดอาหาร พยายามเปลี่ยนถ่ายน้ำให้บ่อย ๆ รักษาคุณภาพของน้ำให้ดี เพราะบริเวณตรงที่ปลาตกเลือดนั้นจะไวต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ เป็นอย่างมาก

2.การตกเลือดแบบติดเชื้อ
เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายของปลาทางชั้น Epidermis เกิดการติดเชื้อต่อไปเรื่อย ๆ เมื่อผ่านชั้นนี้ไปแล้ว
อาการตกเลือดก็จะมากยิ่งขึ้น แต่มีลักษณะแตกต่างไปจากการตกเลือดแบบทั่วไป เช่น ตกเลือดเข้มเป็นปื้นหนา
เพราะเชื้อบุกยึดพื้นที่ตัวปลาได้เต็มประสิทธิภาพและประกอบกับเม็ดเลือดขาวไม่สามารถสู่กับเชื้อโรคได้ไหว ปลาของเราก็จะเริ่มมีการขับเมือกออกมามากกว่าเดิม
มีกลิ่นคาวจัดผสมเข้ามา

วิธีการแก้ปัญหา
1.ใช้เกลือเม็ด จำนาน 1-5 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 48 ชม.
2.ใช้ฟอร์มาลิน จำนวน 25- 40 cc. ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 48 ชม. หลังจากแช่ยาแล้วอาการไม่ดีขึ้นควรเปลี่ยนน้ำแล้วพัก 1 วัน ก่อน จากนั้นใส่ยาซ้ำอีก 1-2 ครั้ง ถ้ารักษาถูกโรค
ปลาควรจะมีอาการดีขึ้น ภายใน 2-3 วัน หลังจากรักษา

3.การตกเลือดแบบเรื้อรัง
บริเวณเกล็ดปลาบางที่จะเกิดปฎิกิริยาไวกว่าปกติเป็นอย่างมากต่อสิ่งกระตุ้น (Hypersensitivity) ทำให้ปลาตกเลือดซ้ำซาก มักเป็นบริเวณเดิม ๆ ไม่หายสักที พอแยกแช่เกลือจนจะหาย แล้วเอากลับลงตู้ไม่กี่วันอาการตกเลือดก็กลับมาอีก ทั้ง ๆ ที่ปลาตัวอื่นอยู่ในสิ่งแวดล้อมแบบเดียวกันแต่ไม่เป็นอะไรเลย

วิธีการแก้ปัญหา
จับแยก เลี้ยงเดี่ยวหรือส่วนตัว พร้อมรักษาด้วยการแช่เกลือแบบปกติ
ทาด้วยครีมกลุ่มยาพวก Steroid และ Antibiotic ที่ใช้รักษาอาการผิวหนังอักเสบ ทาที่บริเวณตกเลือดของปลา(ทาอย่างเบามือ) ให้ดูแลรักษาแบบนี้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง
สังเกตว่าอาการตกเลือดเริ่มบรรเทาลง แล้วค่อยปล่อยคืนลงตู้ตามปกติ