วัณโรคปลา Mycobacteriosis
สาเหตุ :
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสกุล Mycobacterium เชื้อ M. marinum จะเจริญที่อุณหภูมิ 25-35 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ ถ้าเลี้ยงเชื้อในที่มืดเชื้อจะมีแสงสว่างโคโลนีสีเหลือง
โรคนี้พบได้ในปลาเกือบทุกชนิดในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ซึ่งในไทยพบบ่อยที่สุด ซึ่งสามารถเกิดได้กับปลาหลายชนิดเช่น ปลากัด ปลาช่อน ปลาเทวดา ปลาออสก้า ปลากระดี่ไฟ ปลาปอมปาดัว ปลาคาร์ป
ลักษณะอาการ
- ปลาว่ายน้ำเชื่องช้า ผอมแห้ง ไม่กินอาหาร
- ท้องบวมน้ำ มีแผลตื้นๆตามลำตัว
- เกล็ดหลุด ครีบกร่อน ตาโปน ตาบอดข้างหนึ่งหรือสองข้าง
- สีของปลาเข้มหรือจางผิดปกติ
- รูปร่างผิดปกติหรือคดงอ
- อวัยวะภายใน เช่น ตับ ไต ม้าม เกิดตุ่มเล็กๆ
วิธีป้องกันและรักษา
- ขณะเปลี่ยนถ่ายน้ำในบ่อหรือตู้ ควรตากบ่อให้แห้ง
- รักษาคุณภาพน้ำเปลี่ยนถ่ายน้ำเป็นประจำสม่ำเสมอ
- ไม่เลี้ยงปลาอัตราหนาแน่นจนเกินไป ควรเลี้ยงให้มีความเหมาะสมกับภาชนะที่เลี้ยง
- ให้อาหารในปรมาณที่เหมาะสมและตักเศษอาหารเหลือก้นบ่อออก
- เมื่อปลาป่วยควรแยกเลี้ยง ไม่ควรเลี้ยงปลาป่วยรวมกับปลาในบ่อ และไม่ควรสัมผัสปลาที่ป่วยหรือตายโดยตรง และร่างกายอ่อนแอจะทำให้ติดเชื้อโรคได้ง่ายยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อวัณโรคปลาสามารถติดเชื้อในสัตว์เลือดอุ่นหลายชนิดได้ รวมถึงใน “คน” ด้วย การถ่ายทอดเชื้อจะผ่านทางบาดแผล และระบบทางเดินอาหารอีกด้วยครับ