เมื่อเข้าหน้าฝน ⛈️ หลายปัญหารุมเร้า เอาไงดี? อย่าชะล่าใจควรระวังในช่วงหน้าฝน นักเลี้ยงปลาที่มีบ่อกลางแจ้ง มักจะประสบปัญหามากมายเกี่ยวกับการเลี้ยง ดังนี้

  1. เมื่อฝนตกหนักมากๆ จะพัดพวกปุ๋ยเคมี ดินชะล้างมากับสายฝน 💧 โดยเฉพาะบ่อที่มีต้นไม้ล้อมรอบ เมื่อไหล และพัดเข้าบ่อมากๆ เป็นพิษต่อปลาที่รักของเรา ยิ่งได้รับผลกระทบหนัก ตอนที่ฝนตกลงมาในช่วงแรก
  2. น้ำฝนจะชะล้างจากอากาศ และลงสู่บ่อ น้ำฝนมีความเป็นกรดทำให้pHของน้ำในบ่อต่ำลง ความเป็นพิษจากแอมโมเนียสูงขึ้น อาจทำให้ปลาลอยหัวขึ้นมาหาอากาศหายใจ ซึ่งอาจทำให้ปลาเครียด และป่วยถึงขั้นตายได้
  3. ในช่วงฝนตกตะกอนแขวนลอยที่มาจากการชะล้างบริเวณขอบบ่อฟุ้งกระจาย สร้างปัญหาตรงเหงือกของปลาในการแลกเปลี่ยนออกซิเจน เกิดอาการกินน้อยลง มีความเครียด ซึม ลอย และป่วยในที่สุด
  4. เมื่อสภาพอากาศแปรปรวน เดี๋ยวอากาศร้อน🌤️ เดี๋ยวฝนตก ⛈️ ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ค่าความเป็น กรด – ด่าง และความขุ่นของน้ำอย่างกระทันหัน ทำให้ปลาปรับตัวไม่ทัน ส่งผลให้ปลาน็อคน้ำ (Fish kill) หรือตายได้
  5. สภาพอากาศปิด มืดครึ้ม ไม่มีแดด และมีอากาศที่ร้อนอบอ้าว ส่งผลให้ค่าการแลกเปลี่ยนออกซิเจนต่ำ อาจจะทำให้ปลามีอาการลอยหัวได้

✅ แนวทางการแก้ไขเบื้องต้น ✅

  1. เพิ่มบ่อกรองในการหมุนเวียนน้ำ
  2. หลังฝนตกควรระบายน้ำให้ไหลออกอย่างช้าผ่านช่องสกิมเมอร์
  3. ควรเพิ่มออกซิเจนเพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงค่าน้ำกะทันหัน
  4. ควรงดอาหารในวันที่ฝนตกหนัก เนื่องจากปลาจะลดการกินอาหาร การให้อาหารปลาควรลดปริมาณอาหารให้น้อย หรืองดอาหารบ้างมื้อ ❎
  5. ควรใส่ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในการกำจัด ป้องกันสารตกค้างอย่างเช่น แอมโมเนีย และไนไตรท์ ที่เป็นพิษต่อปลาสวยงามของเราได้ฉับพลัน เพื่อปรับสภาพน้ำแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว